• Home
  • พระราชดำริบางประการ
  • สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
  • ๕ องค์ประกอบ
    • องค์ประกอบที่ ๑
    • องค์ประกอบที่ ๒
    • องค์ประกอบที่ ๓
    • องค์ประกอบที่ ๔
    • องค์ประกอบที่ ๕
  • ข้อมูลพรรณไม้
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
  • คลังภาพ
  • วิดีโอ
  • ติดต่อเรา

องค์ประกอบที่ ๑

องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

หลักการ รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก

สาระสำคัญ

การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้โดยการเรียนรู้การกำหนดพื้นที่ศึกษา สำรวจและจัดทำผังพรรณไม้ แล้วศึกษา พรรณไม้ ทำตัวอย่างพรรณไม้ นำข้อมูลมาทำทะเบียนพรรณไม้ ทำและติดแสดงป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ นำไปสู่การรู้ชื่อ รู้ลักษณะต่าง ๆ รวมถึงรู้จักการใช้ประโยชน์ของพืช

ลำดับการเรียนรู้

1) กำหนดพื้นที่ศึกษา

2) สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา

3) ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น

4) ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.7-003 หน้า ปก - 1)

5) ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้

6) ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.7-003 หน๎า 2-7)

7) บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์

8) ทำตัวอย่างพรรณไม้ (ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ตัวอย่างพรรณไม้ดอง ตัวอย่างพรรณไม้เฉพาะส่วน)

9) เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.7-003 หน้า 8) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึกใน ก.7-003 หน้า 9 - 10

10) จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.7-005)

11) ทำรํางป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

12) ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์

13) ทำป้ายชื่อพรรณไม่สมบูรณ์

อธิบายลำดับการเรียนรู้

ลำดับการเรียนรู้ที่ 1 กำหนดพื้นที่ศึกษา

วัตถุประสงค์

1) เพื่อรู้ขอบเขต ขนาดพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียน

2) เพื่อรู้ลักษณะทางกายภาพในโรงเรียน

3) เพื่อรู้การแบํงพื้นที่เป็นสํวนย่อยและการจัดการพื้นที่ศึกษาในการเข้าไปเรียนรู้ที่เหมาะสม

กระบวนการเรียนรู้

1) เรียนรู้พื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียนตามกรรมสิทธิ์และบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนอยู่ใกล้กับสถานที่ต่าง ๆ และตั้งอยูํในทิศทางใดของโรงเรียน โดยระบุขนาดพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียนได้ และจัดทำเป็นผังพื้นที่ทั้งหมด ของโรงเรียน

ตัวอย่างผังพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียน

  • งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพศรีบุญเรือง
  • 142 หมู่ 10 ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39180
  • โทร 042-353732 Tel 042-353696
  • Email:mail@sbr.ac.th,sbr@sbr.ac.th
  • วิทยาลัยการอาชีพศรีบุญเรือง